ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีอะไรบ้าง⁉️
มีหลายสิ่งที่สามารถเพิ่มโอกาสในการเป็น #มะเร็งลำไส้ใหญ่
ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่ :
1️⃣อายุ
คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอายุมากกว่า 𝟱𝟬 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราพบว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มขึ้นในผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวหรืออายุที่ลดน้อยลง
2️⃣ประวัติครอบครัว
หากคุณมีญาติสายตรง (เช่น พ่อแม่ พี่น้อง หรือลูก) ที่มีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมากขึ้น
3️⃣กลุ่มอาการมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บางคนได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ กลุ่มอาการมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดที่เชื่อมโยงกับมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ได้แก่ กลุ่มอาการลินช์ (Lynch syndrome) และติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่แบบถ่ายทอดทางพันธุกรรม (FAP)
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีอายุต่ำกว่า 𝟱𝟬 ปีประมาณ 𝟮𝟬% อาจมีกลุ่มอาการมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในปัจจุบันจึงมีการส่งปรึกษาทางพันธุกรรมและตรวจทางพันธุกรรมมากขึ้น
4️⃣ภาวะอ้วนบุคคลที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่าค่าเฉลี่ยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคต่างๆ รวมถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยดัชนีมวลกายที่ปกติคือ 𝟭𝟵-𝟮𝟰
5️⃣การสูบบุหรี่หากคุณสูบบุหรี่ รวมทั้งการเคี้ยวยาสูบ คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
6️⃣การรับประทานอาหารการรับประทานเนื้อแดง เนื้อแปรรูป และเนื้อย่าง/ย่างเกรียมในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้
7️⃣โรคลำไส้อักเสบความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะเพิ่มมากขึ้น หากคุณมีประวัติโรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคโครห์น(Crohn disease) หรือลำไส้ใหญ่เป็นแผล(Ulcerative colitis)
8️⃣เชื้อชาติผู้ชายและผู้หญิงผิวดำ มีอัตราการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักสูงที่สุดในกลุ่มเชื้อชาติทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกา
9️⃣ประวัติส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
หากคุณเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และทวารหนักมาก่อน คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมากขึ้น จำนวนและประเภทของติ่งเนื้อสามารถช่วยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตได้
🔟การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
1️⃣1️⃣การขาดการออกกำลังกายการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวันและออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคอื่นๆ ได้ ตั้งเป้าหมายออกกำลังกายแบบปานกลางอย่างน้อย 𝟭𝟱𝟬 นาที เช่น การเดินเร็ว หรือออกกำลังกายแบบหนัก 𝟳𝟱 นาที เช่น การวิ่งในแต่ละสัปดาห์
จะเห็นว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อท่านมีอายุถึง 𝟰𝟱 ปี แล้วควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้อย่างน้อย 𝟭 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจ FIT test ด้วยอุจจาระ หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องที่มีความแม่นยำสูง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเจอมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามเฉพาะที่หรือระยะแพร่กระจาย ที่ทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่หรือได้ยาเคมีบำบัดได้ครับ