ถ่ายเป็นเลือด กับ 5 สาเหตุที่พบได้บ่อย
กลไกการเกิดของกระเปาะลำไส้ใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เมื่อมีภาวะกระเปาะลำไส้ใหญ่อยู่แล้ว จะเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก หรือเกิดการอักเสบได้
ลักษณะเฉพาะคือ อุจจาระออกมาก่อนหน้าสีจะปกติ แต่จะมีเลือดหยดตามหลังถ่ายเสร็จ และส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการปวด ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนของริดสีดวงทวาร เช่น ลิ่มเลือดอุดตันของริดสีดวงทวาร เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของภาวะนี้คือ ถ่ายอุจจาระแข็ง ถ่ายแล้วรู้สึกเจ็บเหมือนมีอะไรบาดก้น และมีเลือดหยดตาม หลังจากถ่ายอุจจาระเสร็จ
ลักษณะเฉพาะของภาวะนี้คือ เลือดจะปนเป็นเนื้อเดียวกันกับอุจจาระ หรือถ่ายออกมาเป็นมูกเลือด อาจจะพบร่วมกับลักษณะการขับถ่ายที่ผิดปกติไป เช่น ถ่ายอุจจาระบ่อยมากขึ้น หรือน้อยลงในแต่ละวันเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง เท่าเม็ดกระสุน ลำเท่านิ้วก้อย จากเดิมเคยถ่ายได้เป็นลำเท่านิ้วโป้ง หรือถ่ายเหลว ถ่ายไม่สุด ถ้ามีภาวะใดดังที่กล่าวข้างต้น ต้องรีบมาพบแพทย์โดยด่วน
ลักษณะเฉพาะของภาวะนี้คือ มักจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย การอักเสบอาจจะเกิดจากภาวะการขาดเลือดบางส่วนของลำไส้ มีการติดเชื้อ หรือการอับเสบของลำไส้ที่มีสาเหตุเฉพาะ
สาเหตุที่น่ากังวลมากที่สุดคือ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ลองมาดูกันเลยว่าคนไข้แบบไหน หรืออาการแบบไหนที่เข้าข่ายความเสี่ยงของโรคนี้ ที่จะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้อง
ถ้าท่านมีอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้เข้ารับการส่องกล้องตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ทันที
แต่ถ้าหากท่าน มีอายุมากกว่า 45 ปี แนะนำให้เข้ามาทำนัดเพื่อทำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้อง
หรือถ้ามีคนในครอบครัว หรือญาติเป็นมะเร็งลำไส้แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองที่อายุ 40 ปี หรือที่ 10 ปี ก่อนอายุของคนที่เป็นมะเร็งลำไส้ในครอบครัว เช่น คุณแม่เป็นมะเร็งลำไส้ที่อายุ 42 ปี แนะนำให้ตัวท่านเข้ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ที่อายุ 32 ปี (42 – 10 = 32 ปี) เป็นต้น